ใบความรู้ที่ 1

เราใช้งาน Access 97 ทำอะไรได้บ้าง

  • ใช้สร้างแอพลิเคชั่นฐานข้อมูล เช่นโปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลัง โปรแกรมบันทึกเวลาเข้าออกของพนักงาน
  • มีเครื่องมือในการสอบถามข้อมูลต่างๆจากฐานข้อมูล เพื่อนำผลลัพธ์ไปทำงานบางอย่าง
  • สามารถสร้างเครื่องมือในการติดต่อกับผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม เช่นการแสดงข้อมูล ลูกค้าให้ผู้ใช้งานแก้ไขข้อมูลได้
  • ช่วยเราสร้างรายงานจากฐานข้อมูลได้ เพื่อใช้ในการทำงานบางอย่าง เช่นพิมพ์ชื่อและที่อยู่

ลูกค้า

  • ช่วยให้เราสามารถเผยแพร่ข้อมูลขององค์กรที่มีอยู่ในฐานข้อมูล ผ่านทาง Internet

ได้อย่างง่ายดาย

ฐานข้อมูล ( Database )

หมายถึง ที่รวมของข้อมูล ที่ถูกนำมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูลขององค์กร และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและการจัดการข้อมูลให้ดีขึ้น

ส่วนประกอบต่างๆของฐานข้อมูลใน Access 97

-Table เราจะเรียกส่วนนี้ว่า ตาราง เป็นส่วนที่เก็บโครงสร้างฐานข้อมูลและข้อมูลต่างๆ ตารางนี้จะ

เก็บข้อมูลในรูปแถวและคอลัมน์ โดยในแต่ละแถวจะเรียกว่า เรคอร์ด (Record) และในแต่

ละคอลัมน์ เรียกว่า ฟิลด์ (Field)

-Query เราเรียกว่า คิวรี เป้นเครื่องมือในการสอบถาม แก้ไข เพิ่ม ลบข้อมูล ในตารางอย่างอัตโนมัติ

จะช่วยลดเวลาในการทำงานลงไปได้มาก

-Form ฟอร์ม เป็นเครื่องมือแสดงผลข้อมูลในฐานข้อมูลออกมา และ ใช้ในการกำหนดรูปแบบใน

การแสดงข้อมูลออกมาบนจอภาพ

-Report เราจะเรียกส่วนนี้ว่า รายงาน เป็นเครื่องมือแสดงผลข้อมูลในฐานข้อมูลออกมา และใช้ใน

การกำหนดรูปแบบของรายงานที่จะพิมพ์ออกมาบนกระดาษ

 

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

คือ การรวบรวมเอนทิตี้ที่อยู่ในระบบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันเข้าไว้ด้วยกัน

 

ฟิลด์ ( Field )

หน่วยข้อมูลที่ประกอบมาจากอักขระ เช่น ชื่อ ที่อยู่ ที่ประกอบด้วยอักขระหลายๆตัว

เป็นต้น

 

เรคอร์ด ( Record)

จะเป็นการนำฟิลด์หลายๆฟิลด์มารวมกัน เช่น เรคอร์ดลูกค้า ก็จะเก็บฟิลด์ข้อมูลของลูกค้า

ทั้งหมดที่ประกอบด้วย ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

ตาราง ( Table )

จะเป็นการนำเรคอร์ดหลายๆเรคอร์ดมารวมกัน เช่น ตารางลูกค้า จะประกอบด้วยเรคอร์ดของลูกค้าที่เป็น

ลูกค้าแต่ละราย

จุดประสงค์ในการออกแบบฐานข้อมูล

  1. ลดความซ้ำซ้อนข้อมูลในฐานข้อมูล
  2. -การแก้ไขข้อมูล

    -การเพิ่มข้อมูล

    -การลบข้อมูล

  3. ตอบสนองความจำเป็นในการเรียกใช้ข้อมูลในเวลาที่สั้นที่สุด เพราะว่าข้อมูลในตารางที่ออกแบบอย่างถูกต้องจะไม่มีการซ้ำซ้อน ทำให้ไม่เสียเวลาค้นหาข้อมูล
  4. ช่วยให้ตรวจสอบความถูกต้องรวมทั้งจัดมาตรฐานของข้อมูลได้สะดวก เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่
  5. ซ้ำซ้อน

  6. สามารถกำหนดลักษณะการเข้าถึงข้อมูลสำหรับผู้ใช้แต่ละประเภทได้ด้วย
  7. ทำให้มีความเป็นอิสระระหว่างข้อมูลกับแอพพลิเคชั่น

CODE

NAME

SALARY

0001

สมชาย ใจดี

9500

0002

มาลี มีมานะ

6300

0003

สามารถ ประสาทดี

8900

0004

สมหวัง ดีที่สุด

13500

0005

มังคุด กินอร่อย

4800

โครงสร้างข้อมูล

1.CHARACTER = ตัวอักษร สัญลักษณ์ ตัวเลข ( 1 ตัวอักษร = 1 char )

2. ITEM = เป็นการนำเอา char ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป มารวมแล้วทำให้เกิดคำที่มีความหมาย

3. FIELD = เป็นการนำเอา item ที่มีความหมายเหมือนกัน มารวมกัน

4. RECORD = เป็นการนำเอา field ที่มีความสัมพันธ์กันนำมารวมกัน

5. FILE = เป็นการนำเอา record หลายๆ record มารวมกันแล้วทำการบันทึก

กฎเกณฑ์ในการตั้งชื่อฟิลด์

  1. ชื่อฟิลด์ไม่ควรยาวเกิน 64 ตัวอัษร
  2. ชื่อฟิลด์ควรขึ้นต้นด้วยตัวอัษรเท่านั้น
  3. ชื่อฟิลด์จะเป็นภาษาไทยหรือ อังกฤษก็ได้
  4. ไม่ควรเว้นวรรค ( แต่ควรใช้ _ แทน )
  5. ควรตั้งชื่อฟิลด์ให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จัดเก็บ

Back to Menu