ใบความรู้ที่ 3

Form (ฟอร์ม)

ความรู้เกี่ยวกับฟอร์ม (Form)

ฟอร์ม เป็นเครื่องมือในการแสดงผลข้อมูล และติดต่อกับผู้ใช้งานที่มีความสามารถในการทำงานกับข้อมูลใน
ตารางแทนมุมมอง Datasheet

ข้อเสียของมุมมอง Datasheet

    • การเพิ่ม แก้ไข และลบข้อมูลในมุมมอง Datasheet ทำได้ไม่สะดวก และยังสร้างความสับสน เมื่อเราต้องการทำงานกับข้อมูลจำนวนหลายๆเรคคอร์ด
    • ไม่สามารถแสดงข้อมูลบางชนิดได้ เช่น รูปภาพ เสียง เป็นต้น
    • การทำงานในมุมมองนี้ ไม่เหมาะสมกับผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นที่เราจะสร้างขึ้นเนื่องจากผู้ใช้งาน
      จะไม่มีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล ตาราง และฟิลด์

ประโยชน์ของฟอร์ม

    • เนื่องจากเราสามารถกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของฟอร์ม ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ในการใช้งานได้ ทำให้การใช้งานฟอร์มทำงานกับข้อมูลในฐานข้อมูลทำได้ดีกว่ามุมมอง Datasheet เช่น ถ้าไม่ต้องการให้พนักงานทั่วไปเปิดดูข้อมูลเงินเดือนพนักงานคนอื่นๆได้ในฟอร์มเราสามารถกำหนดให้พนักงานคนนี้ดูได้เพราะเงินเดือนของตัวเอง เท่านั้น เป็นต้น
    • จัดระเบียบในการแสดงผลฟิลด์ต่างๆได้ตามความต้องการของเราเอง ซึ่งเราจะให้แสดงฟิลด์นี้ในตำแหน่งไหนบนฟอร์มก็ได้อย่างอิสระ เช่น ฟิลด์ชื่อลูกค้าควรจะอยูบนฟิลด์ที่อยู่ลูกค้า เป็นต้น
    • สามารถเพิ่มความสนใจให้แก่การแสดงสื่อข้อมูลบางอย่างได้ เช่น การแสดงรูปภาพชนิดสินค้า
    • เราสามารถควบคุมการทำงานกับข้อมูลในฟอร์มได้ด้วยมาโคร หรือคำสั่ง VBA (Visual Basic for Applications) เช่น ในฟอร์มอาจจะมีคอนโทรลปุ่มคำสั่ง ซึ่งถ้าเรา Click แล้ว จะเรียกมาโคร ที่สั่งพิมพ์รายงานออกมาได้ เป็นต้น

การสร้างฟอร์มใน Access มี 2 วิธี

    1. การสร้างฟอร์มด้วยวิซาร์ด
    2. เป็นการสร้างฟอร์ม โดยวิซาร์ดจะสอบถามข้อมูลที่จำเป็นของฟอร์มที่จะสร้าง โดยที่เราไม่ต้องทำความเข้าใจรายละเอียดในการสร้างฟอร์มเลยและเราจะได้ฟอร์มในรูปแบบที่
      ต้องการอย่างรวดเร็ว

    3. การสร้างฟอร์มจากมุมมอง Form Design

การสร้างฟอร์มในมุมมองนี้ เราต้องออกแบบฟอร์มด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่เราเรียกว่า คอนโทรล ซึ่งใช้ในการติดต่อผู้ใช้งานฟอร์ม โดยนำเครื่องมือที่เหมาะสมมาวางบนฟอร์ม กำหนดตำแหน่ง การสร้างฟอร์มด้วยวิธีนี้ เราสามารถกำหนดรายละเอียดต่างๆของฟอร์มที่สร้างได้มากกว่าการสร้างฟอร์มด้วยวิซาร์ด เช่น ต้องการให้ฟอร์มใช้คอนโทรลที่ซับซ้อนมากขึ้น เป็นต้น

ฟอร์มรูปแบบต่างๆที่สร้างด้วยวิซาร์ด

- Columnar เป็นฟอร์มแบบที่แสดงข้อมูลเรียงฟิลด์จากบนลงล่าง โดยจะแสดงทีละ

เรคคอร์ด

 

- Tabular เป็นฟอร์มแบบที่แสดงข้อมูลเรียงฟิลด์จากซ้ายไปขวา

 

- Datasheet เป็นฟอร์มในแบบ Datasheet ที่เราคุ้นเคยกันดี

 

- SubForm (ฟอร์มแบบมีฟอร์มย่อย) เป็นฟอร์มที่มีฟอร์มอื่นอยู่ในฟอร์มด้วย

ใช้ในการแสดงข้อมูล เช่น การสั่งซื้อที่มีรายการสินค้าที่สั่งได้หลายๆ

รายการ เป็นฟอร์มที่สร้างจากตาราง หรือคิวรี มากกว่า 1 ขึ้นไป เนื่อง

จากฟอร์มประเภทนี้ มีหลายๆฟอร์มรวมกันอยู่

- ฟอร์มที่เชื่อมกับฟอร์มอื่นๆ เป็นฟอร์มที่มีปุ่มคำสั่งซึ่งเมื่อ Click แล้วจะแสดงฟอร์ม

ที่มีข้อมูลอื่นๆที่สัมพันธ์กัน คล้ายกับฟอร์มแบบมีฟอร์มย่อย ( SubForm)

การใช้ Control บนฟอร์ม

การใช้ Lable Control

  • ใช้พิมพ์หัวเรื่องไว้บนแบบฟอร์ม
  • ปุ่ม
  • นำมาวาดแล้วพิมพ์ข้อความที่เป็นหัวเรื่อง
  • กำหนดขนาดตัวอักษรและสีตามต้องการ

การใช้ Text Control Text Box

  • ใช้`แสดงข้อมูลของฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่ง และยังสามารถที่จะกำหนด Text box ขึ้นมาแล้วกำหนดสูตรในการคำนวณได้
  • ปุ่ม
  • นำมาวาด
  • ที่Properties ของ Text box กำหนดสูตรในช่อง Control source

การใช้ Combo box control

  • ต้องการให้แสดงทีละรายการ บนแบบฟอร์มและสามารถคลิก ให้มี Pull Down เพื่อเลือกรายการต่างๆได้
  • ปุ่ม
  • Click แท็บ Form ? click ปุ่ม new
  • เลือก Design view , ok
  • Click เลือก combo Boxมาวาด
  • เลือกข้อมูลและฟิลด์ แล้วตอบคำถามไปเรื่อยๆจน Finish

การใช้ List box control

  • สำหรับแสดงให้เห็นหลายๆรายการ พร้อมกันซึ่งจะดีกว่าการใช้ combo box เพราะจะแสดงให้เห็นที่ละรายการเท่านั้น
  • ปุ่ม
  • click แท็บ form แล้ว click ปุ่ม new
  • click Design view, ok
  • click เลือก list box นำมาวาด

การใช้ Image Control

  • สำหรับนำรูปภาพหรือโลโก้ของบริษัท นำมาวางไว้บนฟอร์ม
  • ปุ่ม
  • click แท็บ form แล้ว click ปุ่ม new
  • click Design view, ok
  • เลือก Image แล้วนำมาวาด

การใช้ Command Button control

  • เป็นการสร้างปุ่ม ซึ่งจะนำเอาชุดคำสั่งมาฝังไว้ในปุ่ม เพื่อสะดวกในการทำงาน บน Form
  • ปุ่ม
  • click เลือก Tab Form Click ปุ่ม new
  • เลือก Design View, ok
  • นำมาวาด
  • เลือกเงื่อนไขที่จะนำมาฝังไว้ในปุ่มแล้ว แล้วตอบคำถามไปเรื่อยๆจน Finish 

Back to Menu