ลักษณะและความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ

เวิลด์ไวด์เว็บ ( WWW ) มีลักษณะเป็นระบบเครือข่ายสื่อสารที่โยงใยไปทั่วโลก ให้บริการการสื่อสารข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตหลายรูปแบบ ทั้งข้อมูลข่าวสาร ภาพกราฟิก และระบบมัลติมีเดีย รวมทั้งความสามารถในการโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการได้ เวิลด์ไวล์เว็บสามารถทำงานได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( Operating System ) ทุกชนิด ( Cross Platform ) ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของเวิลด์ไวล์เว็บจะกระจายเก็บอยู่ในศูนย์อินเตอร์เน็ตต่างๆทั่วโลก และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ลักษณะการนำเสนอข้อมูลบนเว็บจะเป็น Graphic User Interface คือใช้รูปภาพเป็นตัวเชื่อมต่อสื่อสารกับผู้ใช้ ทำให้สะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก

จุดเด่นของเว็บคือ ข้อมูลที่นำเสนอจะเป็นเอกสารแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์

( Hypertext ) โดยจะมีจุดลิงค์ ( Linked ) อยู่ภายในเอกสาร ทำให้สามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารในที่อื่นๆได้ทั่วโลกได้ นอกจากนี้เวิลด์ไวล์เว็บยังสามารถใช้ได้กับข้อมูลหลายๆรูปแบบที่ใช้กันอยู่บนอินเตอร์เน็ต เช่น FTP, Gopher, Telnet, Usenet news, WAIS database หรือ E- Mail เป็นต้น

ระบบเวิลด์ไวล์เว็บเป็นผลพลอยได้จากการวิจัยอนุภาคฟิสิกส์ CERN ณ สวิสเซอร์แลนด์โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Tim Berners – Lee เมื่อปี ค.ศ. 1989 ด้วยจุดประสงค์ที่จะค้นหาข้อมูลที่เก็บบันทึกเอาไว้ และสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันได้ ต่อมาจากแนวความคิดนี้ก็ถูกนำไปขยายผล เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ลักษณะการเชื่อมโยงเช่นนี้เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงค์ ( Hyperlinked ) และโปรแกรมที่ควบคุมการรับส่งเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์นี้ เรียกว่า HTTP ( Hypertext Transfer Protocol )

เวิลด์ไวล์เว็บเป็นระบบเปิด ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป้นเจ้าของ การที่จะทำให้โปรแกรมอื่นๆสามารถทำงานบนเวิลด์ไวล์เว็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐาน รายละเอียดคุณลักษณะที่แน่นอน ด้วยเหตุนี้ ในปี 1994 องค์กร W3C ( World Wide Web Consortium ) จึงถูกก่อตั้งด้วยความขึ้นด้วยความร่วมมือของสถาบัน CERN ( Counseil European pour la Recherche Nucleaire หรือ European ) และ MIT ( Michigan Institute of Technology )

องค์กร W3C จะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานของโปรโตคอล HTTP รวมทั้งกำหนดมาตรฐานของภาษา HTML เวอร์ชั่นต่างๆด้วย